ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์
อาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
—–อ่านต่อ—–
“Commons มีการเรียกหลายรูปแบบ แต่ถ้าเราใช้ ‘กรรมสิทธิ์ร่วม’ จะหมายถึงที่ส่วนร่วม ทั้งนี้ในความเข้าใจทั่วไปจะเข้าใจว่าป่าชุมชนเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว เป็นป่าที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
เป็นป่าศักดิ์สิทธิ์ (หรือภาษาเหนือเรียกว่าที่หน้าหมู่) เป็นของส่วนรวมมีทั้งที่มีอยู่เดิม และมีทั้งที่เกิดขึ้นมาใหม่ ป่าที่ร่วมกันใหม่ ป่าที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เกิดจากคนภายนอกมาบุกรุกที่ที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์อยู่เดิม อาจจะไม่มีลักษณะเป็นทางการ พอมีการบุกรุก ชาวบ้านจึงมาปกป้อง และกลายเป็นความเข้าใจในการรักษาพื้นที่ร่วมกัน ความเป็นส่วนร่วมนั้นเป็นความหมายเรื่อง’สิทธิ’ ไม่ใช้แค่เรื่องพื้นที่หรือสิ่งของ แต่เป็นเรื่อง ‘สิทธิ์ส่วนรวม’ ทำให้เราเข้าใจและนำมาสู่เรื่อง ‘สิทธิชุมชน’ การใช้ ‘กรรมสิทธิ์ร่วม’ เป็นการใช้ในรูปธรรมแบบใดแบบหนึ่ง แต่เมื่อเอามาบูรณาการเราจะได้ความคิดเรื่องสิทธิชุมชน”
รองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล อรุโณทัย
สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
—–อ่านต่อ—–
“Commons เป็นคตินิยมเเห่งความเมตตาคือการคิดถึงผู้อื่นไม่ใช่เเค่ผู้คนเเต่รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตต่างๆไม่ว่าจะเป็นสัตว์พืชหรือต้นไม้ถ้าเราพูดถึงระบบปกครองของ Commons เราคงนึกถึงผู้คนในพื้นที่หนึ่งเเต่มันไม่ใช่เเค่นั้นมันคือการมีหลักการของความเมตตาเเละการแบ่งปันที่สามารถทำให้สมาชิกทำงานร่วมกันโดยไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตอื่นๆไม่เอาเปรียบเเละไม่ครอบครองอย่างเด็ดขาด”
รองศาสตราจารย์ ดร. ประภาส ปิ่นตบแต่ง
อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
—–อ่านต่อ—–
“Commons จึงเป็นพื้นที่สาธารณะที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตร่วมของผู้คนในเชิงวัฒนธรรมสถาบันสังคมเศษฐกิจเเละสิ่งเเวดล้อมโดยปกติเเล้ว commons สามารถเเบ่งได้เป็นสองประเภทหลัก ๆ คือ หนึ่ง commons ที่เกิดจากวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของชุมชนและการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ อย่างที่สอง คือ commons ที่เกิดจากการตลาดทางเลือก เช่น ตลาดสีเขียวตลาดออร์แกนิคหรือตลาดชุมชน หากมองในเชิงมิติของสังคมและวัฒนธรรม commons เป็นพื้นที่ส่วนร่วมที่ทุกคนสามารถมาสร้างผลผลิตเเละใช้ร่วมกันซึ่งเป็นการปฏิบัติร่วมกันผ่านประสบการณ์ ส่วนในมิติของเศรษฐกิจ commons คือการเเลกเปลี่ยนเเละการค้ารูปแบบใหม่ที่ต่างจากระบบทุนนิยม และส่วนในมิติของการเมืองนั้น commons คือหนทางที่นำผู้คนมาตั้งการจัดการอย่างเสมอภาคด้วยความสมัครใจเพื่อต่อรองกับภาครัฐและระบบทุนนิยม แต่สิ่งสำคัญของ commons ทั้งที่จับต้องเเละไม่สามารถจับต้องได้นั้นคือพื้นฐานในการเเบ่งบันวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของผู้คน”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เอกรินทร์ พึ่งประชา
อาจารย์ประจำภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
—–อ่านต่อ—–
“Commons ถือว่า เป็นพื้นที่ที่ผู้คนเข้าถึงสิทธิในการทำกินโดยตรงตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในชนบท เช่น ป่าชุมชนป่าต้นน้ำการอนุรักษ์น้ำหรือทรัพยากรทางธรรมชาติที่ปลุกความรู้สึกร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรภายใต้ข้อตกลงในการใช้ทรัพยากรนี้ร่วมกันในขณะที่commons ในเมืองมีการคงอยู่ที่ฝังอยู่ในหลายระดับซึ้งด้วยความซับซ้อนและหลากหลายทางโครงสร้างสังคมทำให้การตีความ commons สำหรับคนเมืองเป็นความหมายที่จับต้องได้ยาก”
สุนิตย์ เชรษฐา
ผู้ก่อตั้งองค์กร ChangeFusion
—–อ่านต่อ—–
“สมบัติร่วม หรือ commons เป็นเหมือนไสต์ลการจัดการที่สนับสนุนระบบโครงสร้างการจัดการด้วยตนเองเช่นการเข้าถึงสิทธิพื้นที่ทำกินเเละทรัพยาการทางธรรมชาติภายในชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนสามารถใช้รักษาเเละพัฒนาทรัพยาการเหล่านี้อย่างเสมอภาคโดยปราศจากความขัดเเย้งของสิทธิส่วนบุคคล”
สุภา ใยเมือง
ผู้อำนวยการมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน ประเทศไทย
—–อ่านต่อ—–
“Commons เป็นหลักการเเบ่งปันในมิติที่หลากหลายพื้นที่สามารถเป็นของบุคคลหรือเป็นของกลุ่มได้การตกลงของกลุ่มต้องเกิดจากสมาชิกภายในและสมาชิกมีการพบปะเเละทำงานร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ”
เข็มพร วิรุณราพันธ์
ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน
—–อ่านต่อ—–
“Commons คือ พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับความรู้เพื่อเด็ก, ครอบครัว, เเละชุมชน Commons ควรเปิดพื้นที่เปิดสำหรับการเเบ่งปัน พัฒนา เพื่อคงไว้ซึ้งวิธีชีวิตเเละการเสริมสร้างทักษะสำหรับเด็ก”
Data Analytics & Reports Published Works
2020
2021
2022
Literature References
- Bollier, David. Reinventing Law for the Commons. A Strategy Memo for the Heinrich Böll Foundation. September 1, 2015.
- Bollier, David and Helfrich, Silke, Free, Fair and Alive. The Insurgent Power of the Commons, New Society Publishers, 2019.
- Bosselmann, Klaus, Earth Governance. Trusteeship of the Global Commons. Edward Elgar, 2015.
- Perlas, Nicanor, Shaping Globalization. Civil Society, Cultural Power and Threefolding, 2000.
- Shiva, Vandana (Ed.), TERRA VIVA Our Soil, Our Commons, Our Future. A new vision for Planetary Citizenship, 2015.
- Sivaraksa, Sulak, The Wisdom of Sustainability, Buddhist Economics for the 21st Century, 2009.
- Ostrom, Elinor Beyond Markets and States: Polycentric Governance of Complex Economic Systems The American Economic Review, Vol. 100, No. 3 (June 2010), pp. 641-672
- Vivero-Pol, Jose Luis; Ferrando, Tomaso; De Schutter, Olivier; Mattei, Ugo (Eds.) Routledge Handbook of Food as a Commons, London/New York, 2019.
- Weeramantry, G.C., Tread Lightly on the Earth, Religion, the Environment and the Human Future, World Future Council, 2009/2014.
- Willenswaard, Hans van, The Wellbeing Society. A Radical Middle Path to Global Transformation, Bangkok, 2016.
- Willenswaard, Hans van, Innovation for Life. A New Light on Right Livelihood, educational edition, Bangkok, 2020.
Online Resources
- https://rightlivelihood.org
- https://rightlivelihood.org/what-we-do/education/the-right-livelihood-college/campuses/school-for-wellbeing-studies-and-research
- https://schoolforwellbeing.org
- https://th.boell.org/en/homepage
- https://wongsanit-ashram.org/2019
- https://www.freefairandalive.org
- https://commonstransition.org/peer-to-peer-a-commons-manifesto
- https://iasc-commons.org