เครือข่ายคอมมอนส์

แผนที่โครงการสมบัติร่วม

โครงการสมบัติร่วมในชนบท

  1. มูลนิธิฮักเมืองน่าน
  2. โครงการข้าวแลกปลา
  3. ครัวใบโหนด
  4. ชุมชนคีรีวง
  5. ชุมชนบ้านบ่อแก้ว: สวนป่าคอนสาร
  6. ป่าชุมชนบ้านก้างปลา (ชุมชนต้นแบบด่านซ้าย)
  7. หมู่บ้านสบลาน (ชุมชนกระเหรี่ยง)
  8. หมู่บ้านห้วยหินลาดใน
  9. ชุมชนชาวเลภาคใต้
  10. ชุมชนอาศรมวงศ์สนิท
  11. เครือข่ายเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต
  12. มูลนิธิสื่อสร้างสุข จ.อุบลราชธานี

โครงการสมบัติร่วมในเมือง

13. สวนผักชุมชนบูรพา 7 (City Farm)
14. ชุมชนทุ่งสองห้อง (City Farm)
15. ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ เขตประเวศ
16. Once Again Hostel
17. Locall
18. Local a lot
19. Local Aroi
20. Local Alike
21. ชุมชนสะพานปลา ที่สมุทรปราการ
22. ชุมชนดวงแข
23. โครงการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล
24. จส. 100
25. Mayday Project
26. กลุ่มแมนนิเฟสติ้ง
27. กลุ่มอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ในเมือง

It is undeniable that every commons is different; however, all ultimately depend on the physical gifts of nature. Therefore, we exercised understanding specific geographical areas in which diverse groups of people create and re-create their distinctive cultural realities, each of which constitute their own unique commons. We divided the area of common’s initiatives into rural and urban to understand the relationships, connections, and patterns of commoning enacted in myriad ways. We observed situated knowing of people in processes of self-determination: how to identify and meet shared needs, manage commonwealth, and get along with one another.

โครงการสมบัติร่วมในชนบท

1.มูลนิธิฮักเมืองน่าน 2. โครงการข้าวแลกปลา 3.ครัวใบโหนด 4. ชุมชนคีรีวง 5.ชุมชนบ้านบ่อแก้ว: สวนป่าคอนสาร 6. ป่าชุมชนบ้านก้างปลา (ชุมชนต้นแบบด่านซ้าย) 7. หมู่บ้านสบลาน (ชุมชนกระเหรี่ยง) 8. หมู่บ้านห้วยหินลาดใน 9. ชุมชนชาวเลภาคใต้ 10. ชุมชนอาศรมวงศ์สนิท 11. เครือข่ายเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต 12. มูลนิธิสื่อสร้างสุข จ.อุบลราชธานี

12 Commons

1.Krua Bai Node

ครัวใบโหนด ตั้งอยู่ที่อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นกลุ่มออมทรัพย์ที่เริ่มต้นจากการเรียนรู้วิถีชีวิตจากสิ่งที่พวกเขามี นั่นคือการผลิตน้ำตาลโตนด การประมงและการทำนาที่เชื่อมโยงระหว่างวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเข้ากับกิจกรรมของกลุ่มเพื่อแบ่งปันและสอนซึ่งกันและกันจากสมาชิก กลุ่มออมทรัพย์แห่งแรกก่อตั้งขึ้นในปี 2533 โดยมีสมาชิก 33 คนและเมื่อสมาชิกมีความมั่นใจในการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์มากขึ้นสมาชิกจึงชักชวนญาติให้เข้าร่วมกลุ่มออมทรัพย์นี้มากขึ้น จนถึงปัจจุบันมีกลุ่มความร่วมมือเครือข่าย 7 กลุ่มที่มีสมาชิก 6,000 คน และด้วยวิธีการเรียนรู้และความเข้าใจทำให้ชุมชนดำเนินการระบบการออมได้อย่างราบรื่น ใช้หลักการบริหารที่เข้าใจง่าย สมาชิกออมเงินได้สูงสุด 10 หุ้นต่อคน (หุ้นละ 10 บาท) หรือไม่เกิน 100 บาทต่อเดือน สำหรับการปันผลจะเป็นการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับชุมชนในระดับสูง โดยจะคืนเงินปันผลให้แก่สมาชิก 50% ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะแจกจ่ายให้กับกองทุน หากสมาชิกคนใดไม่ชำระเงินตามกำหนดจะต้องจ่ายค่าปรับ (10 บาท / ครั้ง / เดือน) และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเรียกเก็บ 2 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน กลุ่มจะนำกำไรและค่าปรับไปสร้างกิจกรรมพัฒนาเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน กิจกรรมของครัวใบโหนดและการสร้างตลาดสีเขียว มีสวัสดิการแก่ครอบครัวของสมาชิกแต่ละคนตั้งแต่เกิดจนตาย นอกจากนี้ยังช่วยเหลือเกษตรกรที่ยากจนในการไถ่ถอนและรักษาที่ดินเพื่อหาเลี้ยงชีพ

2.ชุมชนคีรีวง

หมู่บ้านคีรีวงตั้งอยู่ที่อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นชุมชนดั้งเดิมที่เขาหลวงซึ่งชาวบ้านมีวิถีชีวิตและสังคมแบบเครือญาติที่เงียบสงบ ชาวบ้านหาเลี้ยงชีพด้วยการทำสวนผลไม้แบบผสมผสาน เช่น มังคุด ทุเรียน เงาะ สะตอ เป็นต้น คีรีวงเป็นหมู่บ้านประวัติศาสตร์ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเมื่อปี 2531 จากอุทกภัยดังกล่าวรัฐบาลได้ระดมทุนเพื่อฟื้นฟูหมู่บ้านคีรีวงเพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน ชาวบ้านร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนและรวมตัวกันเพื่อพัฒนาบริการการท่องเที่ยวให้เป็นธุรกิจใหม่ของชุมชน โดยนำเสนอความเป็นอยู่ที่สงบสุข ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิถีชีวิตชนบทในหมู่บ้าน และในปี 2541 คีรีวงได้รับรางวัลอุสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ในฐานะชุมชนต้นแบบที่มีบทบาทในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อย่างไรก็ตามการบริหารงานโดยรัฐบาลในระยะยาวในการฟื้นฟูหมู่บ้านคีรีวงยังขาดการบูรณาการ การจัดลำดับความสำคัญที่เป็นปัญหา และกลยุทธ์ในการอุดหนุนการเติบโตของชุมชนให้ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในทางตรงกันข้ามคนในท้องถิ่นพยายามต่อสู้เพื่อปกป้องชุมชนของตนเองจากนายทุนภายนอกที่รัฐบาลสนับสนุน ถือเป็นความล้มเหลวของรัฐบาลในการจัดการการท่องเที่ยว นโยบายการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นเพียงการหารายได้กลายเป็นภัยที่ทำลายชุมชนคีรีวง กรณีศึกษาจากหมู่บ้านคีรีวงเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับรัฐบาลในการแก้ไขปรับปรุงเพื่อทำงานร่วมกันกับชุมชน ไม่ใช่การใช้นโยบายจากบนลงล่าง รวมทั้งการทำความเข้าใจปัญหาภายในของชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อหาทางออกที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับวิถีชีวิตในท้องถิ่น

 

3.ชุมชนบ้านบ่อแก้ว: สวนป่าคอนสาร

ชุมชนบ้านบ่อแก้ว ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ โดยหมู่บ้านก่อตั้งขึ้นในปี 2552 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลคืนที่ดินให้แก่ชาวบ้าน สาเหตุของปัญหาเกิดจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ฟ้องร้องขับไล่ชาวบ้านออกจากที่ดินในปี 2521 ถึงแม้จะปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าชาวบ้านอาศัยและทำมาหากินในบริเวณดังกล่าวมาเป็นระยะเวลายาวนานตั้งแต่ปี 2496 การเคลื่อนไหวของชุมชนบ่อแก้วเกิดขึ้นเมื่อชาวบ้านรวมตัวก่อตั้งเครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ลุ่มน้ำเซินในปี 2547 เพื่อต่อสู้กับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ตั้งแต่เริ่มต้นของการต่อสู้ ชาวบ้านเรียกร้องเสมอมาให้โอนสิทธิในที่ดินกลับคืนให้พวกเขา ซึ่งชาวบ้านวางแผนที่จะนำที่ดินของหมู่บ้านทำเป็น “โฉนดที่ดินชุมชน” และยังเสนอให้มีการจัดระเบียบการใช้สอย แบ่งเป็นที่ดินส่วนบุคคลและที่ดินใช้สอยร่วมกัน นอกจากนี้บ้านบ่อแก้วยังดำเนินโครงการ “ชุมชนเกษตรอินทรีย์” และธนาคารเมล็ดพันธุ์ชุมชนอีกด้วย ชาวบ้านเชื่อว่าการถือกรรมสิทธิ์ชุมชนดังกล่าวสามารถนำพามาสู่หนทางแก้ไขความขัดแย้งนี้ได้ โดยเป็นทางออกที่คำนึงถึงความยั่งยืน และการอยู่ร่วมกันของธรรมชาติและมนุษย์ ในขณะที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ต้องการนำพื้นที่ดังกล่าวไปใช้เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น

 

4.ป่าชุมชนบ้านก้างปลา (ชุมชนต้นแบบด่านซ้าย)

ป่าชุมชนบ้านก้างปลา ตั้งอยู่ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ชุมชนต้นแบบแห่งนี้มีจุดเริ่มต้นจากการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ภายใต้โครงการ Smart Farmer โครงการเกษตรทางเลือกและความมั่นคงทางอาหาร (2559-2560), โครงการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรและหมู่บ้านต้นแบบการผลิต และการตลาดสีเขียวมาตรฐานด่านซ้ายกรีนเนท (2560-2561) โครงการริเริ่มมาจากปัญหาภูเขาหัวโล้นและหนี้สินของชาวนาจากการทำกสิกรรมเชิงเดี่ยว โดยหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาคือ นำผืนป่ากลับคืนมาในขณะเดียวกันก็สร้างรายได้ให้แก่ชาวนาด้วย นอกจากนี้ตลาดสีเขียวยังถูกก่อตั้งขึ้น เพื่อมอบโอกาสในการเข้าถึงตลาดแก่ชาวนา โดยตลาดแห่งนี้มีมาตรฐาน ด่านซ้ายกรีนเนท ซึ่งเป็นระบบรับรองมาตรฐานแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee System: PGS) ของชุมชน ตลอดระยะเวลาของโครงการ การวิจัยแบบมีส่วนร่วมถูกใช้เพื่อเป็นหลักประกันการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุก ๆ ขั้นตอน นอกจากนี้ตัวแสดงหลักที่ทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จได้คือ เยาวชนและผู้หญิง โดยเยาวชนทำหน้าที่ในการเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนของตัวเอง และนำข้อมูลที่ได้มาส่งต่อให้ครอบครัว ในขณะเดียวกัน ผู้หญิงถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการก่อตั้งตลาดสีเขียวและทำแบรนด์ชุมชน ปัจจุบันป่าชุมชนบ้านก้างปลากลายเป็นชุมชนต้นแบบด่านซ้าย ซึ่งจะเป็นต้นแบบที่ถูกนำไปเรียนรู้และปรับใช้ในชุมชนอื่น ๆ ต่อไป

 

5.หมู่บ้านสบลาน (ชุมชนกระเหรี่ยง)

หมู่บ้านสบลานตั้งอยู่ในอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กห้อมล้อมไปด้วยธรรมชาติ ชนเผ่าปกากะญอ หรือที่รู้จักกันในชื่อชนเผ่ากะเหรี่ยง เป็นหนึ่งในชุมชนชาวเขาที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ชาวปกากะญออพยพและตั้งรกรากอยู่ในบริเวณนี้เมื่อหลายร้อยปีที่แล้ว และหากินโดยการปลูกพืชต่าง ๆ เช่น ผักและข้าว เป็นต้น หมู่บ้านสบลานตั้งอยู่ที่นี่มานานกว่า 150 ปี โดยที่แห่งนี้เต็มไปด้วยความเขียวชอุ่มทั้งในหน้าร้อนและหน้าฝน หมู่บ้านตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล และประกอบไปด้วยป่าไม้ผลัดใบและป่าไผ่ที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านในสบลานพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิต ป่าและน้ำถือเป็นทรัพยากรหลักที่ชาวบ้านใช้อย่างรู้คุณค่า โดยร่วมกันอนุรักษ์และปกป้องป่า น้ำ และทรัพยากรในท้องถิ่น ชาวบ้านมีภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้เกี่ยวกับการอาศัยร่วมกับธรรมชาติที่สามารถสืบทอดปยังลูกหลานอย่างต่อเนื่อง โดยภูมิปัญญาที่ชาวบ้านต้องการอนุรักษ์ไว้คือ การจัดการป่า การทำไร่หมุนเวียน การบ้านสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ ประเพณีดั้งเดิม และตำหรับยาท้องถิ่น ชาวบ้านต้องการให้หมู่บ้านสบลานได้รับการระบุให้เป็น “พื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ” เพื่อรักษาวัฒนธรรม ระบบการทำเกษตรแบบดั้งเดิม และพื้นที่จิตวิญญาณของหมู่บ้านอย่างยั่งยืนสืบต่อไป

 

6.หมู่บ้านห้วยหินลาดใน

บ้านห้วยหินลาด เป็นชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ตามชายแดนในเขตอุทยานหลายแห่งทางภาคเหนือของประเทศไทย ข้อมูลจากหน่วยงานระบบการปกครองท้องถิ่นไทยระบุว่าหมู่บ้านห้วยหินลาดในประกอบไปด้วยชุมชนเล็ก ๆ คือ หินลาดใน, ป่ายาง, หินลาดนอก ซึ่งรวมเป็นประชากรทั้งหมด 252 คน และ 48 ครัวเรือน ในปี พ.ศ. 2535 พื้นที่บริเวณบ้านห้วยหินลาดถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติห้วยแจ้ และมีคำสั่งให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเข้าร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่ประสบปัญหาเดียวกัน และได้ก่อตั้งเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ (Northern Farmers Network: NFN) เพื่อต่อสู้ในการทวงสิทธิในที่ดินของชุมชน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จนถึงปัจจุบัน ชุมชนแห่งนี้ยังคงรักษากฎและข้อบังคับในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การจัดการป่า สิทธิที่ดิน และการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนผ่านการทำเกษตรกรรมดั้งเดิมและประเพณีปฏิบัติ จนทำให้ชุมชนกลายเป็นต้นแบบการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการทำเกษตรกรรมที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสภาพอากาศของโลก ชาวบ้านที่นี่ทำ “ไร่หมุนเวียน” ซึ่งเป็นวิถีปฏิบัติที่มีมายาวนานและมีปฏิบัติอยู่ทั่วโลก บ้านห้วยหินลาดในทำไร่หมุนเวียนในพื้นที่ของตนมาอย่างน้อย 400 ปี ชาวบ้านสามารถเลี้ยงดูคนในชุมชน รักษาป่าไม้และความหลากหลายของสัตว์ป่าและแม้แต่เสือใกล้สูญพันธุ์ยังถูกพบเห็นที่นี่ และในปี พ.ศ. 2553 บ้านห้วยหินลาดเป็นหนึ่งในสี่หมู่บ้านที่ได้รับการระบุให้เป็นพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี

 

7.ชุมชนชาวเลภาคใต้

ชาวเลเป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ของประเทศไทยมานานกว่าร้อยปี มีกลุ่มชาติพันธุ์สามกลุ่ม ได้แก่ มอร์แกน มอร์แกลน และอูรุกลาโว่ย ชุมชนชาวเลกำลังเผชิญกับปัญหาหลัก 2 ประการ ได้แก่ ประการแรกคือการประกาศพเขตอุทยานเหนือที่ดินทำกินของพวกเขา และประการที่สองคือการบุกรุกจากนายทุนเข้าสู่สถานที่ทางจิตวิญญาณและศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขา ปัญหาแรกส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในที่ดินทำกินลดลงและบังคับให้พวกเขาเข้าถึงการประมงในทะเล ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติในทะเลจึงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงมากเท่าช่วงก่อนหน้านี้ ปัญหาที่สองชาวเลต้องเจอกับนายทุนที่พยายามอ้างกรรมสิทธิ์เหนือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และจิตวิญญาณของพวกเขา “บาลาย” เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเลใช้ประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ประจำปีและประกอบพิธีกรรมร่วมกันในวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของพวกเขาที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษจนถึงคนรุ่นใหม่ในชุมชน ขบวนการชาวเลต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินของตนเพื่อปกป้องชุมชนและอัตลักษณ์ของตนเป็นเวลาหลายปี พวกเขาพยายามที่จะเป็นตัวแทนของสาระสำคัญในวิถีชีวิตของพวกเขาที่สอดคล้องกับธรรมชาติดังนั้นเจ้าหน้าที่ควรเข้าใจปลูกฝังและสนับสนุนพวกเขาในการรับมือกับโลกาภิวัตน์และทุนนิยมไม่ใช่ดึงพวกเขาออกจากชีวิตแบบดั้งเดิม ชาวเลยต้องพิสูจน์ว่าประเพณีของพวกเขาสามารถดำรงอยู่ท่ามกลางโลกาภิวัตน์ได้ กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จคือโครงการแลกเปลี่ยนข้าวและปลา (โครงการข้าวแลกปลา) ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ในการรับมือกับวิกฤตโควิด-19 โครงการนี้จะส่งเสริมวิถีชีวิตของชาวเลและการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายเขตวัฒนธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาของชาวเลได้ต่อไป

 

8.ชุมชนอาศรมวงศ์สนิท

อาศรมวงศ์สนิทก่อตั้งในปี พ.ศ. 2527 ภายใต้มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคประทีป (มูลนิธินี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511) โดยอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักกิจกรรมทางสังคม อาศรมฯ เป็นศูนย์เรียนรู้ทางเลือกให้กับเยาวชนและนักกิจกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในยุคแรกเริ่ม ผู้บุกเบิกกลุ่มเล็ก ๆ มาอาศัยในชุมชนให้ความสำคัญกับการทำเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาดินและสิ่งแวดล้อมในชุมชน การฝึกฝนตนเองเพื่อการเติบโตทางจิตวิญญาณ และการใช้ประโยชน์ร่วมกัน (Commons) ในระยะต่อมาชุมชนมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นเป็นชุมชนทางเลือก ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม อาศรมฯ มีส่วนในโครงการผู้ลี้ภัยจากสงครามกลางเมืองในประเทศศรีลังกา งานฝึกอบรมผู้นำชุมชนระดับรากหญ้า (Grassroot Leadership Training: GLT) เป็นหลักสูตรการศึกษาทางเลือกและงานพัฒนาให้กับผู้นำชุมชนจากประเทศพม่า ภายใต้โครงการเสมสิกขาลัย (Spirit in Education Movement) การประชุมเครือข่ายพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคม (INEB) นอกจากนี้ยังมีกิจการเพื่อสังคมใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากอาศรมเช่น บริษัท บ้านดินอาศรมฯ ในปัจจุบันอาศรมฯ เป็นเครือข่ายชุมชนนิเวศ มีบ้านพักสัมมนา อาหารเพื่อสุขภาพ และเปิดเป็นที่เรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาและทดอง “การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย” และ “วิถีชีวิตที่ยั่งยืน”

 

9.เครือข่ายเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต

เครือข่ายเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต ก่อตั้งเมื่อปี 2544 โดยโครงการพัฒนาชนบทแควระบม-สียัด โครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อยฉะเชิงเทรา ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนระบบการผลิตจากเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ ขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ตั้งแต่ปี 2532 โดยเน้นระบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืน รักษาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ คณะทำงานส่วนหนึ่งเป็นภาคประชาสังคมที่เข้าไปทำงานในพื้นที่ ส่งเสริมความรู้ การจัดการตลาดทั้งระบบ ดูแลต้นน้ำยันปลายน้ำ มีรูปแบบการทำงานของกลุ่มและเครือข่ายคือ ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองได้บนฐานการผลิตภาคเกษตรกรรมโดยส่งเสริมการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรยั่งยืนที่สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและรายได้ มีการรวมกลุ่มระดมทุนช่วยเหลือกันภายใน พัฒนารายได้ของผู้ผลิตต่อเนื่องและเป็นธรรม และมีการพัฒนาเป็นองค์กรชุมชนที่เป็นต้นแบบในการขยายงานพัฒนาเกษตรอินทรีย์ด้วยระบบกลุ่มแบบครบวงจรตั้งแต่ระบบส่งเสริมการผลิต การจัดกระบวนการเรียนรู้และงานด้านการตลาด มีแนวคิดการเชื่อมโยงตลาด ต้องขยายพื้นที่การผลิต ขยายฐานผู้บริโภค และพัฒนาระบบประกันราคาเพื่อรับซื้อผลผลิตจากสมาชิก เครือข่ายมีทิศทางการทำงานในอนาคตคือ การพัฒนาแผนธุรกิจโดยการพัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการ ทำอุตสาหกรรมขนาดเล็กในครัวเรือนเพื่อให้ลูกหลานต่อยอดประโยชน์ของเกษตรอินทรีย์ได้ เช่น การทำขนมจีนแป้งสด ข้าวต้มมัดใบกระพ้อ รวมทั้งการขยายฐานการผลิต การขยายเครือข่าย ส่งเสริมกลุ่มใหม่ ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบเกษตรอินทรีย์ เช่น ความรู้เรื่องดินและธาตุอาหาร การทำปุ๋ย การเพาะกล้า ฯลฯ

10.มูลนิธิสื่อสร้างสุข จ.อุบลราชธานี

เรื่องราวของการสื่อสารสร้างชุมชนอาหาร (Food Community) ในเมืองอุบล เริ่มก่อตัวมาแต่ปี 2557 โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ในนาม มูลนิธิสื่อสร้างสุข ที่สนใจและศึกษางานผู้ผลิต ผู้บริโภค เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดอุบลฯ มีเกษตรกรอยู่ในทุกตำบลและทุกอำเภอ เหมาะกับการทำงานด้านการเชื่อมโยงผลผลิต ปัจจุบันมีตลาดสีเขียวทั้งหมด 5 แห่ง นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมกินสบายใจช้อป เป็นร้านออนไลน์ผ่านโซเซียลมีเดีย มีการเชื่อมตรงระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตกับผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้รู้จักที่มาและแหล่งผลิตอาหาร มีระบบขนส่งในระยะ 10 กิโลเมตร บริเวณรอบเมือง โดยตลอดระยะเวลาทำงาน 6-7 ปีนี้ มีการใช้สื่อเป็นเครื่องมือและสร้งกระบวนการทำงานด้านการเกษตร ตลาด ผู้บริโภค และเรื่องของการรับรองมาตรฐาน ซึ่งเป็นทำงานแบบครบวงจร การทำให้ชาวบ้านรู้ว่าต้องเป็นผู้ผลิตที่มีคุณภาพ ใช้สื่อช่วยเรื่องการตลาด สร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ ที่นำไปสู่การทำเกษตรเชิงลึกเน้นสัมพันธภาพในห่วงโซ่อาหาร เกิดตลาดหลายบุคลิกแบบคนรุ่นใหม่ และความน่าสนใจอีกสิ่งหนึ่งของมูลนิธิฯ คือ การเป็นนักประสานเชื่อมโยงกับหลายหน่วยงานและองค์กรด้านอาหารปลอดภัย อาทิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี บริษัทโตโยต้า บริษัทไบโอเอทานอล ห้างสรรพสินค้าสุนีย์ โรงพยาบาลมะเร็ง โรงพยาบาลเดชอุดม ศูนย์พัฒนาอาชีพคนพิการบ้านศรีวนาไล วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เครือข่ายโรงเรียน 29 แห่ง และกลุ่มเกษตรกรกว่า 100 ครัวเรือน

โครงการสมบัติร่วมในเมือง

1.มูลนิธิฮักเมืองน่าน 2. โครงการข้าวแลกปลา 3.ครัวใบโหนด 4. ชุมชนคีรีวง 5.ชุมชนบ้านบ่อแก้ว: สวนป่าคอนสาร 6. ป่าชุมชนบ้านก้างปลา (ชุมชนต้นแบบด่านซ้าย) 7. หมู่บ้านสบลาน (ชุมชนกระเหรี่ยง) 8. หมู่บ้านห้วยหินลาดใน 9. ชุมชนชาวเลภาคใต้ 10. ชุมชนอาศรมวงศ์สนิท 11. เครือข่ายเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต 12. มูลนิธิสื่อสร้างสุข จ.อุบลราชธานี

15 Commons

1.สวนผักชุมชนบูรพา 7

สวนชุมชนบูรพา 7 เป็นชุมชนจัดสรร 300 ครัวเรือน ตั้งอยู่ในเขตดอนเมือง หัวหน้าชุมชนกำลังวางแผนที่จะดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และถนนในพื้นที่ว่างและขยะของชุมชน มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันการทิ้งขยะและสร้างความร่วมมือของชุมชน ในปี 2559-2560 ชุมชนร่วมกับโครงการสวนผักคนเมืองเพื่อความมั่นคงด้านอาหารเปลี่ยนพื้นที่ขยะประมาณ 400 ตารางเมตรซึ่งเป็นของหัวหน้าชุมชนให้เป็นสวนผักของชุมชน มีแปลงผักบ่อปลาไก่และกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ด้วยความมุ่งมั่นอย่างยิ่งยวดของเยาวชนแม่บ้านตลอดจนสมาชิกในชุมชนทำให้ที่ดินเหลือทิ้งกลายเป็นแหล่งอาหารของชุมชนและสวนชุมชนบูรพา 7 ได้เข้าเป็นสมาชิกของโครงการสวนผักคนเมืองในปี 2562-2563 สมาชิกมีเป้าหมายเพื่อ พัฒนารูปแบบ“ การแบ่งปันที่ดิน” ซึ่งประกอบด้วยการแบ่งปันอาหารและการแบ่งปันชีวิต ยิ่งไปกว่านั้นบูรพา 7 ได้ใช้โครงสร้างโลหะในการยกแปลงผักเพื่อให้อยู่ในระดับเดียวกับเครื่องปลูก สะดวกกว่าสำหรับผู้สูงอายุและสามารถป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วมได้ ผู้ชายรับผิดชอบดูแล 2 แปลงและผู้หญิงรับผิดชอบอีก 2 แปลง

2.ชุมชนทุ่งสองห้อง

ชุมชนทุ่งสองห้อง 327 มีพื้นที่ร้างซึ่งสร้างปัญหาอื่น ๆ เช่นไฟไหม้และยาเสพติด ในปี 2552 สำนักงานหลักสี่ได้สนับสนุนชุมชนให้เปลี่ยนพื้นที่เป็นแปลงผักปลอดสารพิษ ช่วยส่งเสริมให้ชุมชนและเยาวชนได้ทำกิจกรรมในชุมชนรวมทั้งประสานงานกับ บริษัท ไทยคาเนต้าเจ้าของที่ดินเพื่อทำสัญญาอนุญาตให้ชุมชนใช้ที่ดินและน้ำในพื้นที่ ชุมชนต้องรับผิดชอบค่าน้ำประปา แม้ว่าการสนับสนุนจากสำนักงานหลักสี่จะสิ้นสุดลง แต่ชุมชนก็ยังคงทำแปลงผักต่อไป พวกเขาเข้าเป็นสมาชิกโครงการสวนผักคนเมืองในปี 2555 ให้สมาชิกโครงการผักคนเมืองดูแล 1 แปลง สมาชิกบางคนสามารถได้รับแปลงเพิ่มเติมหากพวกเขาสามารถดูแลพวกเขาได้ พวกเขาสามารถปลูกผักชนิดใดก็ได้ที่พวกเขาต้องการ ไม่มีการจัดการที่เข้มงวดที่เรียกร้องให้สมาชิกทำอะไรบางอย่าง แต่ต้องจ่ายค่าน้ำเท่า ๆ กัน หากใครไม่สามารถรดน้ำในแปลงได้คนอื่นก็สามารถทำได้ มันเป็นระบบสนับสนุน ประเด็นที่น่าสนใจคือชุมชนทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการขยะในครัวเรือนและแปลงผักได้อย่างไร ทุกเช้าสมาชิกจะนำเศษผักและอาหารจากบ้านมาทำปุ๋ยให้กับแปลงปลูก จากที่ดินรกร้างที่มีปัญหาเรื่องขยะตอนนี้ถูกเปลี่ยนเป็นสวนผัก มีการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ชุมชนความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจ ประเด็นสำคัญที่สุดคือความสัมพันธ์ที่ดีที่สร้างขึ้นระหว่างสมาชิกในชุมชน

3.ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ เขตประเวศ

ในปี พ.ศ. 2536-2537 กรุงเทพมหานครได้ออกนโยบายอพยพ 65 ชุมชนที่อาศัยอยู่ใต้สะพานข้ามเมือง เป็นผลให้ชุมชนพบปะกันและเรียกร้องที่อยู่อาศัยใหม่ของพวกเขา จนถึงปี 2544 ชุมชนต่างๆได้รับสถานที่แห่งใหม่ในพื้นที่ที่การเคหะแห่งชาติจัดสรรให้ ชุมชนอ่อนนุช – 14 ไร่เป็นหนึ่งในชุมชนเหล่านั้น ชุมชนอ่อนนุชเป็นสมาชิกโครงการสวนผักคนเมือง แปลงผักของชุมชนช่วยลดต้นทุนค่าอาหารของครัวเรือนในชุมชน ชุมชนอ่อนนุชได้รวมกลุ่มของพวกเขาด้วยที่ดินเปล่าการจัดการที่โปร่งใสและกิจกรรมต่อเนื่อง สมาชิกมอบเงินบางส่วนให้กับกระปุกออมสินกลางทุกครั้งที่หยิบผักบางชนิด ขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์ของสมาชิก เงินที่ได้จากสมาชิกนี้ทำให้ชุมชนสามารถซื้อพันธุ์ผักและดำเนินงานต่อไปได้ด้วยดี อาชีพหลักของสมาชิกคือการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว มีรายได้ประมาณ 6,000 – 8,000 บาท / เดือน ชุมชนมีการจัดการขยะของตนเองด้วยการรีไซเคิลและทำให้พวกเขาสามารถจัดตั้งธนาคารขยะที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก นอกจากนี้ยังมีการจัดการขยะอินทรีย์โดยการทำปุ๋ยจากเศษอาหารรวมทั้งเศษผักและผลไม้ ร้านสะดวกซื้อ Zero Baht Social Innovation ให้สมาชิกจ่ายแบบสิ้นเปลือง ร้านค้าให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิกคล้ายกับการบริหารจัดการของสหกรณ์ การเป็นสมาชิกต้องมีถังขยะ 100 ชิ้นซึ่งสามารถลงทะเบียนเป็นหุ้นได้ ตอนนี้ร้านมีสมาชิก 94 ครัวเรือนโดยขับเคลื่อนด้วยการจัดการขยะใน 3 แนวทางคือการสร้างรายได้การพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนและกองทุนสวัสดิการ

4.Once Again Hostel

Once Again Hostel เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการในซอยสำราญราษฎร์พระนครกรุงเทพมหานคร สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานประกอบการนี้คือการรวมเอาทรัพยากรทาง วัฒนธรรม ผู้คน และถักทอชุมชนโดยรอบและบริเวณใกล้เคียงเกาะรัตนโกสินทร์อย่างใกล้ชิด ที่โฮสเทลมีการจัดแสดงผลงานศิลปะไทยโบราณและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ การเชื่อมต่อระหว่างโฮสเทลและคนในท้องถิ่นมีเป้าหมาในการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นที่เคยมีชีวิตชีวา ที่ตั้งของโฮสเทลรายล้อมไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งของประเทศไทย เช่น ถนนข้าวสาร พระบรมมหาราชวัง วัดโพธิ์ และภูเขาทอง ด้วยกันนี้โฮสเทลได้เปิดพื้นที่ให้ช่างฝีมือของท้องถิ่นได้แสดงงานฝีมือ และเพื่อตอบสนองต่อสถานการร์ของโควิด-19 นอกจากการเข้าพักระยะยาว โฮสเทลได้เปลี่ยนล็อบบี้ให้เป็นสถานที่จัดส่งอาหาร ‘Once Again Kitchen’ นำเสนอโดย RISE Cafe x Living Kafe และยังคงวิสัยทัศน์ขององค์กรโดยใช้ปิ่นโตเป็นบรรจุภัณฑ์ในการส่งอาหารอีกด้วย

5.Locall

Locall เป็นโครงการริเริ่มที่เริ่มต้นขึ้นโดยเป็นโครงการสำหรับเด็กจากความคิดที่ยิ่งใหญ่ที่อยู่เบื้องหลัง Once Again Hostel โดยมีเป้าหมายในการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น มุ่งเน้นการพัฒนาระบบจัดส่งอาหารออนไลน์เพื่อสนับสนุนร้านอาหารในท้องถิ่น หลังจาก 5 ปีในการบริหาร Once Again Hostel Once Again Hostel ได้จัดทำแคมเปญสำหรับร้านอาหารในย่าน “ประตูผี – เสาชิงช้า” ที่ไม่ได้ลงทะเบียนกับระบบจัดส่งอาหาร โดยโครงการนี้เป็นความพยายามที่จะทำระบบการจัดส่งอาหารที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน แต่สิ่งที่ทำให้ Locall แตกต่างออกไปคือ การเป้าหมายและการให้ความสำคัญกับชุมชนเป็นอันดับแรกโดยใช้แนวคิดเดียวกันกับ Once Again Hostel ทำให้ร้านอาหารที่มีชื่อเสียงเช่น ร้านมนต์นมสด ร้านเทียนซ้งเป็ดย่าง ร้านก พานิช ร้านเหลี่ยมนมสด ร้านศริพรโภชนา และ ร้านซาลาเปา มาเข้าร่วมเพื่อสนับสนุนการโครงการและช่วยเหลือร้านอาหารใหม่ ๆ ที่กำลังประสบปัญหาทางการตลาด จากผลกระทบของโควิด-19 ทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จรวดเร็วขึ้น เพราะโครงการนี้มีบทบาทคล้ายเส้นเลือดสำหรับชุมชน เป็นการเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภค สร้างรายได้ให้กับร้านอาหารรวมถึงมอเตอร์ไซด์รับจ้างในพื้นที่ และปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ขยายพื้นที่เพิ่มเติมอีก 2 แห่งคือ ย่านเยาวราชและนางลิ้นจี่ มีช่องทางการสั่งซื้อที่กว้างขวางผ่านทางอินสตาแกรม เฟสบุ๊ค และไลน์ การพัฒนานี้ถือเป็นการสร้างเครือข่ายที่ยั่งยืนระหว่างชุมชนท้องถิ่นที่น่าสนใจ

6.Local Alot

บริษัท โลเคิล อลอท จำกัด มีวิสัยทัศน์ในการจัดหาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าจากชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทย บริษัทนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2563 เพื่อตอบสนองต่อวิกฤติของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อของรายได้ของชุมชนในประเทศไทยอย่างมาก บริษัทมุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์กลางและทำหน้าที่เป็นคนกลางเพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชุมชนในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ภารกิจหนึ่งคือการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชุมชนในท้องถิ่น ผ่านทำงานอย่างใกล้ชิดกับชุมชน เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนไปสู่มาตรฐานสากล และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการตลาดสมัยใหม่ให้กับผู้ผลิต กรณีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอย่างดีคือ กล้วยทอดจากชุมชนมาบจันทร์ ในจังหวัดระยอง ที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมของชุมชนให้ผสมผสานกับรสชาติใหม่ ๆ เช่น รสช็อกโกแลต รสไวท์ช็อกโกแลต รสสตรอเบอร์รี่ และรสชาเขียวมัทฉะ ทำให้เกิดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และทำให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น

7.Local Aroi

Local Aroi เป็นความร่วมมือกับ Local Alike ซึ่งเป็นโครงการเพื่อสังคมที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนท้องถิ่นและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนเหล่านั้นด้วย ด้วยความช่วยเหลือของเชฟ “บุญสมิทธิ์ พุกกะพรานสุต” และเชฟชื่อดังคนอื่น ๆ จึงสามารถสร้างประสบการณ์อาหารที่ไม่เหมือนใครผ่านเรื่องราวของอาหารท้องถิ่นของชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศไทยโดยเน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น สูตรต้นตำรับและรสชาติที่แท้จริงของอาหารไทย ด้วยความเชื่อที่ว่าอาหารท้องถิ่นเต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจและลักษณะเฉพาะของแต่ละชุมชน การนำเสนออาหารท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวในท้องถิ่น ดังนั้นการผสมผสานวัฒนธรรมที่หลากหลายและรสชาติอาหาร Local Aroi จึงหวังที่จะให้ลูกค้าได้ลิ้มลองความมหัศจรรย์มากมายที่ซ่อนอยู่ทั่วประเทศไทย ภายในชุมชนท้องถิ่นเหล่านี้ ด้วยความหวังว่ารสชาติอาหารที่ยอดเยี่ยมจะดึงดูดความสนใจ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น และสนับสนุนคนท้องถิ่น โครงการจัดให้มีบริการอาหาร รับจัดงานเลี้ยงอาหารแบบส่วนตัว โดยจะรับงานในพื้นที่และรับงานขั้นต่ำจำนวน 20 คน

8.Local Alike

Local Alike เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยงของชุมชนในประเทศไทย ที่ประสบการณ์การท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน บริษัท Local Alike ไม่เพียงมุ่งเน้นการท่องเที่ยวแต่ยังคิดถึงประโยชน์ทางสังคมและการส่งเสริมชุมชนท้องถิ่นในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตท้องถิ่น ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้สร้างงานจำนวน 2,000 ตำแหน่งให้กับคนในท้องถิ่น สร้างความร่วมมือกับบริษัท 50 แห่ง และตัวแทนจากภาครัฐ ทำให้เกิดเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นมากกว่า 100 แห่งใน 46 จังหวัด รวมเป็นรายได้ประมาณ 54 ล้านบาทที่กระจายไปสู่ชุมชน และมีนักเดินทางกว่า 32,000 คนที่ได้ไปเรียนรู้กับชมชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้เครือข่ายของบริษัท Local Alike ได้สร้างพื้นที่การตลาดที่นำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนที่หลากหลายสำหรับนักเดินทาง และได้ที่จัดตั้งกองทุน CBT เพื่อสนับสนุนชุมชนในการปรับปรุงมาตรฐานชีวิตของสมาชิกในชุมชนที่เข้าร่วมงานกับ บริษัท Local Alike อีกทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนที่ของชุมชนเป็นเจ้าของ เพื่อสร้างประสบการ์ที่มีคุณค่าและความให้กับนักเดินทางที่สนใจมาร่วมเรียนรู้ จากความสำเร็จที่เกิดขึ้น ทำให้บริษัทLocal Alike สามารถขยายพื้นที่ทำงานไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม ไต้หวัน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

9.ชุมชนสะพานปลา ที่สมุทรปราการ

ต้นกำเนิดการพัฒนาชุมชนสะพานปลาที่สมุทรปราการมีความคล้ายคลึงกับชุมชนดวงแข โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาพื้นที่เด็กเล่นที่นำมาสู่การพัฒนาชุมชนโดยรวมในที่สุด ชุมชนสะพานปลาประกอบไปด้วยแรงงานต่างด้าวทั้งหมดห้าชาติพันธุ์ ซึ่งมักใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำงานและประสบปัญหากับข้อจำกัดทางกฎหมาย อีกทั้งในชุมชนเองยังขาดพื้นที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรม ทำให้เด็กภายในชุมชนจำเป็นต้องถูกขังในที่พักตัวคนเดียว หรืออาจต้องออกไปช่วยพ่อแม่ทำงาน ถึงแม้ปัญหาดังกล่าวจะเห็นได้ชัดและมีองค์กรต่าง ๆ พยายามเข้ามาช่วยเหลือแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากคนในชุมชนมีความหวาดระแวง อย่างไรก็ตาม สสย. ได้เข้ามาทำกิจกรรมเริ่มแรกกับเด็กในพื้นที่โดยใช้ของเล่นในการพัฒนาทักษะ ในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความสะอาดและสุขอนามัย เป็นต้น หลังจากนั้น สสย. ก็ได้นำข้อเสนอพื้นที่เด็กเล่นไปพูดคุยกับชุมชน ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลาม จนทำให้เกิดพื้นที่สาธารณะสำหรับผู้ใหญ่เพิ่มขึ้นมาอีกด้วย พื้นที่สาธารณะนี้ได้กลายเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างคนในชุมชนและยังเป็นพื้นที่ที่ชุมชนได้แสดงวัฒนธรรมและตัวตนของพวกเขา นอกจากนี้พื้นที่แห่งนี้ยังเป็นตัวกลางที่องค์กรภายนอกใช้ในการหยิบยื่นความช่วยเหลือให้ชุมชนทั้งด้านการศึกษาและสุขอนามัย จนกล่าวได้ว่าชุมชนสะพานปลาเป็นชุมชนที่มีศักดิ์ศรี ไม่ใช่ชนชั้นสองในไทยอีกต่อไป โดยพวกเขาสามารถรักษาตัวตนและขนบธรรมเนียมประเพณีไว้ได้

10.ชุมชนดวงแข

ชุมชนดวงแขเป็นชุมชนย่านสถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นชุมชนแออัดที่เคยมีปัญหาในเรื่องของยาเสพติด เริ่มแรกภาครัฐมองว่าชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่เต็มไปด้วยปัญหาจึงไม่รับฟังเสียงของพวกเขา ทำให้คนในชุมชนรู้สึกว่าตนเองเป็นคนชายขอบที่สร้างปัญหาให้แก่สังคม และรู้สึกละอายที่เติบโตมาในชุมชนนี้ อย่างไรก็ตาม สสย. ได้เข้ามาพัฒนาชุมชนแห่งนี้ โดยเริ่มจากการนำเสนอพื้นที่เด็กเล่นปลอดภัยและสะอาดให้แก่ชุมชน พื้นที่ดังกล่าวได้รับการตอบรับจากเด็ก ๆ และผู้ปกครองในชุมชนเป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่ปี 2531 พื้นที่เด็กเล่นแห่งนี้ได้กลายเป็นศูนย์รวมกิจกรรมของชุมชนและเป็นตัวกลางความช่วยเหลือจากองค์กรภายนอกที่เข้ามากระตุ้นให้คนในชุมชนพัฒนาชุมชนของพวกเขาต่อไป จากความพยายามของ สสย. ทำให้เด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตมาในชุมชนมีความภาคภูมิใจในชุมชนของตนเองได้ จะเห็นได้ว่าคนเหล่านี้ จากเดิมที่มักจะออกจากชุมชนไปเพราะความละอาย ได้กลับเข้ามาช่วยเหลือและพัฒนาชุมชนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น สสย. ถือว่าชุมชนนี้เป็นชุมชนตัวอย่างของการแก้ปัญหาภายในชุมชนรูปแบบใหม่ที่เป็นการร่วมมือระหว่างชุมชนและองค์กรอย่างเสมอภาค ไม่ได้มองว่าชุมชนที่มีปัญหาเป็นภัยต่อสังคม เป็นทัศนคติของภาครัฐในการมองปัญหา แต่ในการพัฒนาเราต้องรับฟังเสียงของคนในชุมชนเหล่านี้ด้วย

11.โครงการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล

โครงการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล (Media Information and Digital Literacy: MIDL) เป็นโครงการสนับสนุนให้ผู้บริโภครู้เท่าทันสื่อใน “ยุคหลอมรวมสื่อ” ซึ่งเปรียบเสมือนการติดอาวุธให้พลเมืองปกป้องสิทธิของพวกเขาเพื่อการต่อต้านอำนาจรัฐ อำนาจทุน และเพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเป็นประชาธิปไตย โดยโครงการนี้เน้นให้ผู้บริโภครู้จักวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและเจตนาแฝงของสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สื่อมวลชน สื่อวรรณกรรม หรือสื่อดิจิตอล นอกจากนี้ MIDL ยังเชื่อว่ารัฐต้องเข้ามาส่งเสริมสิทธิการเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมเเละเป็นธรรม โดยเฉพาะยุคดิจิตอลที่การสื่อสารได้เปลี่ยนไปอยู่ในโลกเสมือนจริง ผู้บริโภคสื่อต้องมีภูมิคุ้มกันต่อข้อมูลต่าง ๆ อย่างครบถ้วนเพื่อการใช้สื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทั้งนี้ MIDL ได้มีโครงการนำเเนวคิดนี้ไปผนวกกับการสร้างเมืองภายใต้โครงการ MIDL for inclusive cities ที่เล็งเห็นถึงความเท่าเทียมในการออกแบบเมือง ซึ่งโครงการนี้รณรงค์ให้คนมีความเข้าใจในสื่อสารสนเทศเเละสื่อดิจิตอลเพื่อใช้เป็นกระบอกเสียงให้เเก่การพัฒนาชุมชนของตัวเองโดยไม่เเบ่งเเยกคนชายขอบหรือคนเล็กคนน้อย เเละสร้างการมีส่วนร่วมของคนทั้งเมือง เพื่อออกแบบเมืองที่ตอบโจทย์เเก่คนทุกกลุ่มทุกวัย และสามารถนำไปสู่การมีส่วนร่วมในพื้นที่จริงและพื้นที่ดิจิตอล

12.จส. 100

สถานีวิทยุแห่งนี้ถือเป็นพื้นที่สำหรับผู้คนจากแห่ง ในการรายงานปัญหาเกี่ยวกับการใช้ระบบขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจราจร อุบัติเหตุ หรือสำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2534 “กองทัพบก” โดยพลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก ในขณะนั้น ได้มอบสถานีวิทยุคลื่นความถี่ระบบเอฟเอ็ม 100 Mhz. ซึ่งอยู่ในความดูแลของ “กรมการทหารสื่อสารกองทัพบก” ให้ “บริษัทแปซิฟิคคอร์ปอเรชั่นจำกัด” เพื่อดำเนินการผลิตรายการวิทยุที่การช่วยบรรเทาปัญหาจราจร และช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากการเติบโตอย่างมากในภาคอุตสาหกรรม และการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรในกรุงเทพมหานคร มีผลทำให้ภาครัฐไม่สามารถขยายการให้บริการต่าง ๆ ได้ทันต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในสังคม และเพื่อช่วยแก้ไขปัญหานั่นหมายถึงต้องมีการ “ติดต่อสื่อสาร” กันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชน จส. 100 จึงเกิดขึ้นและเป็นพื้นที่ให้ผู้ฟังเข้ามาแสดงความเห็นและส่งข้อเรียกร้องภายใต้การดูแลของผู้จัดรายการ สถานีวิทยุนี้เป็นที่สนใจจากผู้คนจำนวนมาก มีประสิทธิภาพ และมีการแจ้งเหตุที่รวดเร็วต่างจากการรายงานข่าวแบบเดิม ๆ ทุกวันนี้สถานีวิทยุยังคงเป็นเหมือนสถานที่สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือและมีการพัฒนาให้ครอบคลุมพื้นที่มายิ่งขึ้น เช่น Facebook Twitter และ Line และเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เปิดตัวแอปพลิเคชัน JS 100 สำหรับมือถือ ที่พัฒนาขึ้นตามความต้องการของผู้ใช้และปรับให้เข้ากับยุคสมาร์ทโฟน

13.Mayday Project

Mayday Project ริเริ่มขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม 2559 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนของการเคลื่อนไหวทางสังคม ที่ดำเนินการผ่านแนวคิดของ Once Again Hostel และอาศัยรูปแบบธุรกิจเพื่อชุมชนเพื่อการทำงานเปลี่ยนแปลงทางสังคม กลุ่ม Mayday คือกลุ่มคนที่มีความสนใจแก้ปัญหาระบบขนส่งสาธารณะ ด้วยการนำข้อมูลและความคิดสร้างสรรค์มาสร้างการเปลี่ยนแปลง กลุ่ม Mayday ทำงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมจำนวนมากเพื่อปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะ เป็นที่ทราบกันดีว่าระบบขนส่งสาธารณะมีข้อจำกัด และมีการเข้าถึงที่ยากลำบาก ดังนั้นโครงการนี้จึงมีเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมให้ระบบขนส่งสาธารณะ มีรูปแบบที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน และปรับเปลี่ยนความคิดของคนไทยที่มองว่าขนส่งสาธารณะคือสิ่งที่ต้องหลีกหนี เพื่อให้คนไทยมองว่าขนส่งสาธารณะเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยและเป็นพื้นที่ของคนทุกคน โดยกลุ่มได้สร้างพื้นที่สาธารณะเป็นเพจเฟซบุ๊คชื่อว่า maydaySATARANA เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางด้วยรถเมล์ ด้วยข้อมูลแบบบอินโฟกราฟิกที่มีสีสันสดใส ที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และตอบสนองต่อผู้คนในยุคโลกออนไลน์

14.กลุ่มแมนนิเฟสติ้ง

แมนนิเฟสติ้งเป็นองค์กรที่เชื่อว่าการดำเนินชีวิตที่สามารถ คิด พูด และทำ ได้อย่างสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวคือ ชีวิตที่มีความสุขสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การ คิด พูด ทำ ในสิ่งที่มีคุณค่าตามอุดมการณ์ความเชื่อที่สามารถสร้างประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมส่วนรวม เป็นกลุ่มบุคคล เครือข่าย ที่มีศักยภาพ เชื่อมั่นในอุดมการณ์เดียวกัน และพร้อมที่จะตัดสินใจเลือกการดำเนินชีวิตตามอุดมการณ์ ใช้ชีวิตที่ท้าทาย มีเป้าหมายที่อยากเห็นการสร้างสรรค์สังคมไทยให้พัฒนา โดยใช้อุดมการณ์ ความเชื่อ ความฝัน ที่มีคุณค่า เป็นตัวขับเคลื่อนเป็นหลัก ไม่ใช่ยึดมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง มุ่งเน้นการพัฒนาคน และทีมงานบุคลากรที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพ เพื่อการทำงานเชื่อมโยงกับผู้คน ชุมชน เครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน คิด ออกแบบ พัฒนา บริหารงาน โครงการและกิจกรรม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง และมากกว่าการสร้างการเปลี่ยนแปลงใดๆ คือการปลดปล่อยศักยภาพ และส่งเสริมการเรียนรู้ของทรัพยากรบุคคล พร้อมกับการบรรลุเป้าหมายของกิจกรรมและโครงการ กลุ่มริเริ่มมาจากนักบริหารงานโครงการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมืออาชีพและไว้วางใจได้ ด้วยทีมงานที่มีคุณภาพ ทั้งยังมุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมการสร้างคน ส่งเสริมแนวคิดด้านการพัฒนาสังคม ผ่านการผลิตสื่อ บทเรียนที่ส่งเสริมการพัฒนาคน พัฒนาการศึกษา และการเป็นพลเมือง อีกทั้งมุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการเพื่อส่งเสริมคุณภาพและรายส่งเสริมรายได้ของผู้คนให้ดีขึ้น

15.กลุ่มอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ในเมือง

กลุ่มอนุรักษ์ “ต้นไม้ใหญ่” ในเมืองเกิดจากการรวมตัวกันของคนที่มีอาชีพแตกต่างกัน แต่มีอุดมการณ์ร่วมกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า เรานำทักษะที่หลากหลายสร้างเครือข่ายคนอาสาและผู้สนับสนุน ระหว่างชุมชน ภาครัฐ เอกชน และผู้สร้างการขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อร่วมกันสร้างความตระหนัก ปลูกความเข้าใจให้ผู้คน เพื่อเกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนให้กับเมืองและพื้นที่อื่น ๆ เมื่อพื้นที่สีเขียวในฝันไม่ใช่แค่การปลูกหรือรดน้ำพรวนดินสม่ำเสมอเท่านั้น เพราะสิ่งที่ต้นไม้ในเมืองต้องการคือการดูแลอย่างถูกต้องบนพื้นฐานของความเข้าใจ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราทุกคนต้องเป็นผู้เป็นพิทักษ์เหล่าต้นไม้ใหญ่ให้เติบโตไปพร้อมกับเมือง บิ๊กทรีไม่ได้ปลูกต้นไม้ แต่กำลังปลูกความเข้าใจให้ผู้คน เพื่อการมีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนให้กับเมืองของเรา ถึงเวลาที่เราอยากชวนทุกคนยื่นมือมาโอบกอดต้นไม้ และมีส่วนร่วมกับโครงการรณรงค์ต่าง ๆ ของเราตามความถนัดและความสนใจ เพื่อดูแล 60 สวนสาธารณะในเมืองไทย ปลุกปั้นโรงเรียนต้นไม้เพื่อสร้างนักดูแลต้นไม้ใหญ่ ปกป้องปอดของกรุงเทพฯ ผ่านโครงการรักบางกะเจ้า ผูกเสี่ยวอุดหนุนเกษตรอินทรีย์ในโครงการเพื่อนชาวนา ตลาด 100 กิโล และโครงการใหม่ ๆ ที่พร้อมจะแตกใบต่อยอดในอนาคต